ABOUT US

กำเนิดคีรีเขต กาแฟยะลา

KIRIKHET


หากพูดถึงกาแฟยะลา ในพื้นที่ในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา นับย้อนกลับไปกว่า 50 ปีมาแล้ว ชาวบ้านนิยมปลูกไร่กาแฟกันกว้างขวาง ก่อนจะมีสวนยางพาราเกิดขึ้นเสียอีก ตอนนั้นชาวบ้านหันไปปลูกยางพารากันเนื่องจากราคาจูงใจ แต่ในที่สุดเส้นทางน้ำยางของชาวสวนยางก็ถึงทางตัน เมื่อรายได้จากการกรีดน้ำยางไม่ดีเหมือนแต่ก่อน แนวความคิดที่เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร จึงหันกลับมาหากาแฟพืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่ง กาแฟยะลาจึงได้รับการส่งเสริมอย่างจริงอีกครั้งหนึ่ง


“ยะลา”แหล่งปลูกกาแฟชั้นดี

ฉัตรชัย กิติไพศาล ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา กล่าวเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 ว่าศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ได้ทำการวิจัยพัฒนาเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้า ตั้งแต่ พ.ศ.2555 ปรากฏว่ากาแฟโรบัสต้าที่อำเภอธารโต จังหวัดยะลา เจริญเติบโตดีเหมาะสมสำหรับภูมิประเทศและภูมิอากาศ ให้ผลผลิตเฉลี่ยถึง 290 กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้นทางศูนย์จึงใช้พืชกาแฟเป็นพืชทางเลือกหนึ่งในการปลูกทดแทนยางพาราเสื่อมโทรม หรือใช้เป็นแนวทางการปลูกพืชแบบผสมผสาน หากเกษตรกรมีสวนทุเรียนอยู่แล้วก็สามารถนำกาแฟไปปลูกภายใต้ร่มเงาระหว่างแถวของทุเรียน กาแฟก็สามารถที่จะเติบโตได้ดี เมื่อมองอีกมุม ประเทศไทยก็ยังมีความต้องการเมล็ดกาแฟสดอยู่มาก ตัวเลขการนำเข้าเมล็ดกาแฟสดโดยเฉพาะกาแฟโรบัสต้า ปีหนึ่งประมาณ 50,000 กว่าตัน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าถึง 4 พันล้านบาท

ความประสานร่วมมือของหน่วยงาน

ความร่วมมือกันของทุกภาคส่วนจึงเกิดขึ้น โดยทางกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เทศบาลนครยะลา และกรมวิชาการเกษตร โดยศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ตลอดจนภาคเอกชน จึงได้ร่วมจัดให้มีโครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟทดแทนยางพารา หรือปลูกกาแฟเป็นอาชีพเสริมในระบบการปลูกพืชแบบผสมผสานตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มตั้งแต่มอบต้นพันธุ์ ส่งเสริมการปลูกและการดูแลรักษา ควบคู่กับการสร้างแบรนด์กาแฟคุณภาพที่เป็นอัตลักษณ์ หรือสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์จังหวัดยะลา รวมทั้งมีการเชื่อมโยงการตลาดกับโรงงานแปรรูปกาแฟคั่ว มุ่งสู่การผลิตกาแฟคั่วคุณภาพแบบครบวงจร เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกร สนับสนุนการท่องเที่ยวการค้าชายแดน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนและสร้างสรรค์ชุมชนสู่สันติสุข อันจะมีผลทำให้สามารถแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อีกทางหนึ่ง   

โครงการต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2560 ได้มีการแจกต้นพันธุ์โรบัสต้าให้กับเกษตรในพื้นที่อำเภอธารโต อำเภอบันนังสะตา และอำเภอเบตง จำนวน 50,000 ต้น ในปี 2561 ได้มีโครงการ “ส่งต่อต้นพันธุ์ สร้างสรรค์ชุมชนสันติสุข ที่ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา อำเภอธารโต จังหวัดยะลา แจกต้นพันธุ์โรบัสต้าอีกจำนวน 20,000 ต้นพร้อมติดตามความคืบหน้าของเกษตรกรที่รับพันธุ์ไปแล้ว  และล่าสุดในปี 2562

ได้จัดทำ “โครงการ อะราบิก้า คืนถิ่นแดนดินกาแฟใต้” แจกต้นพันธุ์อะราบิก้าจำนวน 200,000 ต้น โดยความอนุเคราะห์ต้นพันธุ์จากศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ (ขุนวาง) ตำบลแม่ริม อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่



ย้อนรอยกาแฟยะลา

เรียบเรียงโดย วิธูร บัวแดง


“….คีรีเขตกาแฟ หยุดโลกพันปีที่ยะลา….”


เส้นทางการค้าเมื่อพันกว่าปี จากโลกอาหรับสู่ยะลาภายใต้รัฐปัตตานี อันเป็นศูนย์กลางการค้าแห่งคาบสมุทร แต่โบราณ คือ จุดนัดพบของผู้คนที่หลากหลายทั้งความเชื่อเผ่าพันธุ์  พ่อค้า นักบวช  นักแสวงโชค ดินแดนแถบนี้ จึงถูกบันทึกไว้ เป็นหลักฐานประวัติศาสตร์ โดยนักเดินทางชาวจีนและอาหรับ การค้นพบเหรียญโบราณจากอาหรับที่เมืองโบราณยะรัง เครื่องถ้วย และหินสลักเหนือหลุมฝังศพชาวอาหรับอายุพันกว่าปีที่เมืองไทรบุรี ยืนยันถึงเส้นทางการค้าที่เชื่อมโยงฝั่งมหาสมุทรอินเดียจากไทรบุรีข้ามขึ้นบก สู่ยะลา ปัตตานี ไปสู่ฟากฝั่งแปซิฟิก เดินทางต่อไปยัง เขมร จามในเวียตนาม จีน ญี่ปุ่น

ท่ามกลางสายธารการค้า และอารยธรรม กาแฟยะลาอะราบิก้า ร่วมเดินทางมาพร้อมกับนักบวชลัทธิซูฟี จากเยเมน สู่ยะลา ร่องรอยหลักฐานเก่าแก่ คือชุดต้มกาแฟ และเหยือกกาแฟทองเหลืองแบบโบราณจากเยเมน ที่ยังเป็นมรดก      ตกทอดหลงเหลืออยู่ในยะลา ปัตตานีจนถึงปัจจุบันนี้ และเหยือกกาแฟรูปทรงเดียวกันนี้ ปรากฏในระเบียงภาพหินแกะสลัก จากนครธม อายุเกือบพันปี


“….คีรีเขตกาแฟ จากโอสถสวรรค์ถึง โกปี…”


ตำนานการค้นพบกาแฟยะลา เชื่อมโยงกับความเชื่อของมุสลิม เมื่อนักบวชซูฟี ชาวเยเมน นิยมรักษาโรค ด้วยเวทมนต์คาถา ถูกปฏิเสธว่ามิใช่แนวทางของมุสลิมและถูกเนรเทศไปสู่ป่าเขาที่ห่างไกล ได้นำเมล็ดกาแฟจากป่ามากิน เพื่อประทังชีวิต พบว่ามีสรรพคุณทางยา กระตุ้นให้เกิดความสดชื่น เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติศาสนกิจได้ยาวนาน และสามารถรักษาโรคได้ จนกระทั่งมีกระแสเรียกร้องให้ ท่านกลับสู่สังคมอีกครั้งหนึ่ง กลายเป็นนักบุญที่สำคัญแห่งโลกมุสลิม ในฐานะที่นำกาแฟ เครื่องดื่มสีดำ ที่ ได้รับการยอมรับ ประหนึ่งของขวัญที่พระเจ้าประทานมายังโลกมนุษย์ ด้วยลักษณะพิเศษสูงส่ง กาแฟในระยะแรกจึงจำกัดห้ามนำออกจากเยเมน แต่มีข้อยกเว้นสำหรับนักบวชลัทธิซูฟีเท่านั้น จากเยเมนถึงยะลา เป็นเส้นทางการค้าทางทะเล กาแฟที่มาพร้อมกับ นักบวชอาหรับลัทธิซูฟี ไม่เป็นที่รู้จักของคนทั่วไป ด้วยเหตุที่กาแฟจำกัดอยู่ในกลุ่มนักบวช  เป็นของขวัญสำหรับชนชั้นสูงแห่งราชสำนัก และเนื่องจากปัตตานีโบราณ เป็นรัฐฮินดูเช่นเดียวกับนครธมในเขมร คนทั่วไปรู้จักซูฟีผ่านภาพลักษณ์ของนับบวชที่แต่งกาย ด้วยผ้าคลุมศรีษะทับหมวกโกปิเยาะห์ และเรียกเครื่องดื่มพิเศษที่มาพร้อมกับนักบวชว่าโกปี ที่กร่อนมาจากคำ โกปิเยาะห์ 




“……คีรีเขตกาแฟ มนต์ขลัง โชคลาภ และ มิตรภาพอันรุ่งเรือง …..”


ประมาณ 500 ปีที่ผ่านมาบทบาทของซูฟีจากเยเมน นำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญเหนือคาบสมุทรมลายู  เมื่อราชาแห่งไทรบุรี และปัตตานีเปลี่ยนเป็นมุสลิม การดื่มกาแฟอันมีคุณภาพเป็นยารักษาโรค และคู่ควรเป็นเครื่องดื่ม ในการปฏิบัติกิจทางศาสนา ได้รับความนิยมแพร่หลายอย่างกว้างขวาง ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ที่ผสมผสาน ทั้ง ชาว พุทธ ฮินดู อาหรับ และจีน เหนือดินแดนคาบสมุทรมลายูแต่โบราณธรรมเนียมการแสดงความเคารพ โดยการวางกาแฟเหนือหลุมฝังศพนักบุญซูฟีถูกผสมผสานเข้ากับความเชื่อ เรื่อง การบูขาบรรพชนของชาวจีน ฮินดู พุทธ สัญลักษณ์ของนักบุญซูฟี ได้รับการเคารพ ยอมรับ และปรับเปลี่ยน เป็นเทวดาท้องถิ่น ที่สามารถดลบันดาลให้โชคลาภ ความเจริญรุ่งเรือง และป้องกันภยันตรายทั้งปวงเป็นมรดก ความเชื่อ ตกทอดมาถึงปัจจุบัน คือการถวายโกปี แด่ ทวด โต๊ะนิ ในสามจังหวัดภาคใต้ , ดาโต๊ะกง ของคนจีน และฮินดู ในมาเลเซีย สิงคโปร์ , เนี๊ยกตา ในเขมร นับเป็นการผสมผสานทางวัฒนธรรมที่ลงตัวโดยผ่านกาแฟ ประหนึ่งเป็นตัวกลางที่เชื่อมโยง ความหลากหลายของผู้คน แม้จะแตกต่างทางความเชื่อ ประเพณี


“….คีรีเขตกาแฟ เพื่อมนุษยชาติ….”


เมื่อประมาณ 400 ปีที่ผ่านมา เมื่อเส้นทางการเดินเรือ จากโลกอาหรับ ถูกแทรกแซงโดยอาณานิคมจากยุโรป บริษัทการค้าจากฮอลันดา ได้ขโมยพันธุ์กาแฟโรบัตตาจากอินเดีย และส่งเสริมให้มีการเพาะปลูกขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย และต่อมาอังกฤษก็มีนโยบายเดียวกัน เลือกพื้นที่บนภูเขาปลูกกาแฟในมาเลเซีย แพร่เข้ามาสู่ดินแดนยะลาปัตตานี ผ่านชุมชนมุสลิม เมื่อประมาณ 100 ปี ที่ผ่านมา นับเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่มีการปลูกกาแฟ พันธุ์“โรบัตตา” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย แต่ไม่มี “อะราบิก้า “รสชาติกาแฟยะลาที่คนยะลาคุ้นชินมานับพันปี จากการนำเข้าเมล็ดกาแฟโดยตรงจากเยเมน


กิจกรรมที่ผ่านมา

24 ธันวาคม 2561

ได้มีกิจกรรมส่งเสริมการปลูกกาแฟในพื้นที่ อ.ธารโต จ.ยะลา เปิดโครงการมอบพันธุ์ต้นกล้ากาแฟแก่เกษตรกรในพื้นที่อำเภอธารโตและอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา


ชื่อโครงการ "ส่งต่อต้นพันธุ์ สร้างสรรค์ชุมชนสันติสุขที่ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา อำเภอธารโต จังหวัดยะลา โดยได้ร่วมมือกับทางส่วนราชการยะลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชสวนธารโต และผู้แทนเกษตรกร จัดกิจกรรมการมอบต้นกล้ากาแฟพันธุ์โรบัสต้าจำนวน 20,000 ต้น, กิจกรรมรื่นรมย์ ชมสวน ชวนเก็บกาแฟ, การเสวนา "ล้อมวง ชงกาแฟ บอกกล่าวเรื่องราวชุมชน

"ซึ่งต้นพันธุ์กาแฟที่ได้รับมอบเป็นพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่า มีความเหมาะสมจะปลูกในทั้ง 3 อำเภอ ของจังหวัดยะลา เนื่องจากว่าพื้นที่ตามที่กล่าวมานั้น เป็นพื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง และมีการกระจายตัวของปริมาณฝนอย่างสม่ำเสมอ และทางศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ก็ได้ทำการวิจัยแล้วพบว่าสภาพภูมิอากาศมีความเหมาะสมกับพันธุ์กาแฟดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพสูง  



24 ธันวาคม 2561

ได้มีกิจกรรมส่งเสริมการปลูกกาแฟในพื้นที่ อ.ธารโต จ.ยะลา เปิดโครงการมอบพันธุ์ต้นกล้ากาแฟแก่เกษตรกรในพื้นที่อำเภอธารโตและอำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา

ชื่อโครงการ "ส่งต่อต้นพันธุ์ สร้างสรรค์ชุมชนสันติสุขที่ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา อำเภอธารโต จังหวัดยะลา โดยได้ร่วมมือกับทางส่วนราชการยะลา ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ กรมวิชาการเกษตร สถาบันวิจัยพืชสวนธารโต และผู้แทนเกษตรกร จัดกิจกรรมการมอบต้นกล้ากาแฟพันธุ์โรบัสต้าจำนวน 20,000 ต้น, กิจกรรมรื่นรมย์ ชมสวน ชวนเก็บกาแฟ, การเสวนา "ล้อมวง ชงกาแฟ บอกกล่าวเรื่องราวชุมชน

"ซึ่งต้นพันธุ์กาแฟที่ได้รับมอบเป็นพันธุ์กาแฟโรบัสต้า ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่า มีความเหมาะสมจะปลูกในทั้ง 3 อำเภอ ของจังหวัดยะลา เนื่องจากว่าพื้นที่ตามที่กล่าวมานั้น เป็นพื้นที่ไม่มีน้ำท่วมขัง และมีการกระจายตัวของปริมาณฝนอย่างสม่ำเสมอ และทางศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ก็ได้ทำการวิจัยแล้วพบว่าสภาพภูมิอากาศมีความเหมาะสมกับพันธุ์กาแฟดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ได้ผลผลิตที่ดีและมีคุณภาพสูง  

Kirikhet - เมล็ดกาแฟ คุณภาพสูงจากยะลา

ผู้ประกอบธุรกิจด้านกาแฟครบวงจร เราสนับสนุนการปลูกกาแฟในชุมชน การแปรรูปเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ จำหน่าย เมล็ดกาแฟสด เมล็ดกาแฟคั่ว เที่มีการคัดสรรมาอย่างดี ตลอดจนให้ความรู้และให้คำปรึกษาด้านการทำธุรกิจร้านกาแฟเพื่อเพิ่มรายได้กับชุมชน

ติดต่อเรา

หจก.เซาท์เทิร์นแอกริคัลเชอะโปรดักส์ 108/2 ถนนวิถี 5 ตำบลสะเตง อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา 95000
0800753048

© 2019 Kirikhet - เมล็ดกาแฟ คุณภาพสูงจากยะลา